จ.อุบลราชธานี เชิญเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา Ubon Candle Festival ปฏิทินการท่องเที่ยวภาคอีสาน
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน อีกทั้งยังเป็นต้นตำรับของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของไทยด้วย ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 จนเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน
ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ขบวนแห่เทียนพรรษาก่อน สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน
ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผลจึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ
ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น
ความงามของเทียนที่ได้รับรางวัล
ใน พ.ศ. 2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์
ครั้น พ.ศ. 2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ
ประมาณปี พ.ศ. 2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน
กิจกรรมที่จะมีขึ้นในงานแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลราชธานี 2554
พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬารมากที่สุดในประเทศไทย มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวางและททท.ได้จัดให้บรรจุลงในปฏิทินการท่องเที่ยวทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก
ช่วงไม่กีปีมานี้ก็มีการเพิ่มเติมงานปฏิมากรรมเทียนนานาชาติ เข้ามาในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวในหน้าฝนของจ.อุบลราชธานี ภูจองนายอย น้ำตกแสงจันทร์ กุ้งเดินขบวน ก่อนกลับอย่าลืมแวะ วัดหนองป่าพง
อย่าลืมแวะพักและเที่ยวที่อุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี และ ต้นไม้เรืองแสงในวัดสิรินธรวรารามหรือวัดภูพร้าว Unseenแห่งใหม่ของจ.อุบลฯ
ข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดี่ย
ตารางกิจกรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี ประจำปี 2559
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา Ubon Candle Festival จ.อุบลราชธานี ปฏิทินการท่องเที่ยวภาคอีสาน
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน อีกทั้งยังเป็นต้นตำรับของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของไทยด้วย ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 จนเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน
ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ขบวนแห่เทียนพรรษาก่อน สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน
ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผลจึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ
ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น
ความงามของเทียนที่ได้รับรางวัล
ใน พ.ศ. 2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์
ครั้น พ.ศ. 2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ
ประมาณปี พ.ศ. 2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน
กิจกรรมที่จะมีขึ้นในงานแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลราชธานี 2554
พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬารมากที่สุดในประเทศไทย มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวางและททท.ได้จัดให้บรรจุลงในปฏิทินการท่องเที่ยวทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก
ช่วงไม่กีปีมานี้ก็มีการเพิ่มเติมงานปฏิมากรรมเทียนนานาชาติ เข้ามาในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวในหน้าฝนของจ.อุบลราชธานี ภูจองนายอย น้ำตกแสงจันทร์ กุ้งเดินขบวน ก่อนกลับอย่าลืมแวะ วัดหนองป่าพง
อย่าลืมแวะพักและเที่ยวที่อุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี และ ต้นไม้เรืองแสงในวัดสิรินธรวรารามหรือวัดภูพร้าว Unseenแห่งใหม่ของจ.อุบลฯ
ข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดี่ย
ตารางกิจกรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี ประจำปี 2559
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา Ubon Candle Festival จ.อุบลราชธานี ปฏิทินการท่องเที่ยวภาคอีสาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น